ตำนานพระฤษี ตอนที่ ๑

          ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายความว่า ศาสนาพุทธล่วงเลยมาแล้วถึง ๒๕๕๐ ปี นับว่า เป็นศาสนาที่เก่าแก่และมั่นคงมาก แม้ว่าเวลาที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ต่างๆ ผันแปรทำให้ ศาสนาพุทธสึกกร่อนลงไปบ้างแต่ปัจุบันศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้คนนับถือมาก มายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ก่อนศาสนาพุทธยังมีศาสนาและลัทธิต่างๆอีกมากมายเช่น ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น
          ปัจจุบันศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ใกล้ชิดสนิทสนมจนแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อมีพิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะคน ไทยเราเก่งในการผนวก พระฤษี เป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของ คนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์ สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิ มีการตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้ พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ดเดี่ยว มุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่น สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมาย บางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทร ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤษีเช่นกัน พระฤษีจัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้น หรือ ๔ จำพวก คือ
               ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า เจ้าฤษี ชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติ คือมีความปกติเป็นพื้นฐานเพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้อง ต้นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
               ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พรพรหมฤษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม
               ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมีอิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
               ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี แปลว่า มหาฤษี ชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญามาก มีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด
          เมื่อนำ เอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง ๔ ชั้นมีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตน ผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ ได้เท่าใดผลก็จะส่ง บุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ พระฤษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่าน โดยมากมักเป็นฤษีที่ละจากเรื่องทางโลกมุ่ง สู่การบำเพ็ญบารมีเป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไปยิ่งบำเพ็ญบารมีมากเท่าไรก็มีอำ นาจวิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤษี ตามรากศัพย์ดูเหมือนจะแปลกันว่า เป็นผู้มี ปัญญาอันได้มาจาก พระเป็นเจ้า ตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤษี(รือ-สี) ผู้สละ บ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤาษี หรือที่เรียกกันว่า เป็น พระประชาบดี นั้นในมานวธรรม ศาสตร์กล่าวว่ามี ๑๐ ตน คือ
               ๑.มรีจิ
               ๒.อัตริ
               ๓.อังคีรส
               ๔.ปุลัสยตะ
               ๕.ปุลหะ
               ๖.กรตุ
               ๗.วสิษฐ
               ๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
               ๙.ภฤคุ
               ๑๐.นารท

เครดิต : พี่กุหลาบขาว Whiterose (ทีมแอดมินชมรมฯ)

หนังสืออ้างอิง…ตำนานพระฤาษีของ อ.ว.จีนประดิษฐ์

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

thThai
เว็บไซต์ของเรามีการจัดเก็บคุกกี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ให้ความยินยอม
เรียนรู้เพิ่มเติม
เว็บไซต์ของเรามีการจัดเก็บคุกกี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ให้ความยินยอม
เรียนรู้เพิ่มเติม